“สารทเดือนเก้าหรือสารทไทยพวน” ประเพณีแห่งความกตัญญู 4 ข้อ ของชาวไทยพวน
ประเพณีสารทพวน ไทยพวนก็เหมือนกับชน “เผ่าไท” ทุกชาติพันธุ์ ถือเป็นประเพณี “ฮีตสิบสองสองคลองสิบสี่” อาจมีแตกต่างกันไปบ้างในรายละเอียดแต่ “หัวใจ” ของประเพณีนั้นคือความสามัคคีกลมเกลียวกัน และเชื่อมโยงถึง “ศาสนา” คือการทำบุญวิถีพวน 29 สิงหาคม (แรม 14 ค่ำ เดือน 9) เดือน 9 “ประเพณีสารทพวน” เดือนเก้านี้ว่า เดือนเก้า “ทำบุญข้าวสะ”
“ข้าวสะ” หมายถึงการเตรียมทำข้าวให้สะอาด 2-3วันก่อนถึง “วันสารทพวน” เพื่อนำมาทำ กระยาสารท ซึ่งสมัย 50 ปีก่อน “กระษาสารท” ไม่น่ากินเหมือนสมัยนี้ ที่ใส่งาและอื่นๆมาผสมน่ากิน และยังมีขนมที่ขาดไม่ได้ใน.สารทพวน คือ ข้าวเหนียวแดง กาละแม และขนมกง
เพราะฉะนั้น “กระยาสารท” ที่เราเรียกทุกวันนี้ คือมีที่มาจาก ข้าวสะ และการเรียกการทำบุญเดือน 9 ว่า “บุญข้าวสะ” ชาวบ้านเรียกตาม “ขนมกระยาสารท” ที่นำมาถวายพระ และทำใส่(เส่อ) กระจาดมาวัดเป็น “ทำบุญสารท” จนถึงปัจจุบัน จังหวัดสุพรรณบุรี “ไทยพวน” บ้านท่าตลาด วัดท่าตลาดจัดงานสืบสานตำนาน “บรรพชนคนพวน” ไว้อย่างน่าชมเชย
ถึงแม้กาลเวลาจะผ่านไป แต่วัฒนธรรมอันเอกลักษณ์ ยังคงได้รับการสืบทอดต่อ ๆ กันจนถึงปัจุจบัน