คลองบางปลาม้า

คลองบางปลาม้าจากโคลงนิราศสุพรรณบทหนึ่ง ได้บรรยายถึงท้องน้ำลำคลองในบางปลาม้า โคลงสี่สุภาพทำให้เราเห็นภาพในอดีตของท้องน้ำลำธารในบ้านเมืองแห่งนี้ว่าในน้ำมีปลาในนามีข้าวสำหรับชื่อบางปลาม้า มีอยู่ด้วยกัน 2 นัยยะ สิ่งแรกคือเมืองสุพรรณเป็นเมืองหน้าด่านมีการทำสงครามอาจจะมาจากบางพม่า และผิดเพี้ยนมาเป็นบางปลาม้า โดยคลองบางปลาม้าหรือคลองบางพม่าที่พม่ามาขุดไว้สำหรับทำสงคราม และ อีกนัยยะหนึ่งอำเภอบางปลาม้าในอดีตมีปลาชนิดหนึ่งชุกชมคือปลาม้า โดยชาวบ้านจับปลาจะพบปลาม้าทุกครั้งจึงสันนิฐานว่าชื่ออำเภอมาจากปลาม้าปลาม้ามัจฉาพื้นถิ่นของไทยที่อาศัยอยู่ในแถบลุ่มแม่น้ำภาคกลางตอนล่าง พบมากที่สุดในแม่น้ำท่าจีน จังหวัดสุพรรณบุรี จุดเด่นนั้นอยู่ที่ครีบหลังของตัวปลาจรดโคนหางเหมือนแผงคอของปลาม้านี้คือหนึ่งในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่บอกผู้คนในปัจจุบันที่รับรู้ว่าปลาที่ชุกชมในแม่น้ำลำคลองในที่แห่งนี้ไม่ว่าจะเป็นปลาม้าหรือปลาชนิดใด ๆ ก็แทบจะสูญพันธ์ไปตามธรรมชาติเสียแล้ว อาจจะทำให้เราอุปมาอุปมัยได้ว่าบางปลาม้าในยุคนี้กล่าวเป็นบางปลาชัยไปแล้ว

บ้านโพธิ์ศรี

บ้านโพธิ์ศรีความเป็นมาของชุมชนบ้านโพธิ์ศรีชุมชนบ้านโพธิ์ตศรีเป็นหมู่บ้านของไทยพวน ซึ่งบรรพบุรุษอพยพมาจากเมืองเชียงขวาง แขวงเมืองหลวงพระบาท ประเทศลาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประมาณปี พ.ศ. 2322 ในช่วงสมัยกรุงธนบุรีและสมัยกรุงรัดนโกสินทร์ เจ้าพระยาพระมหากษัตริย์ตึกได้ยกทัพไปดีเมืองเวียงจันทร์และได้กว่าดตอนชาวลาวมาเป็นเชลยและให้อาศัยอยู่ตามหัวเมืองต่าง ๆโดยเริ่มแรกให้มาอยู่ที่บ้านสนามแจง อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี และย้ายมาอยู่ที่จังหวัดสุพรรณบุรี วัดบ้านเก่า ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2388 นายลำดวน พันธุ์ตรี ได้อพยพพี่น้องจากบ้านเก่ามาตั้งถิ่นฐานทำมาหากินให้ท้องทุ่งที่อุดมสมบูรณ์มีต้น โพธิ์ศรีอยู่เป็นจำนวนมากจึงตั้งชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านโพธิ์ศรี" ตั้งแด่นั้นมาสภาพทางภูมิศาสตร์ชุมชนบ้านโพธิ์ศรีเป็นส่วนหนึ่งของตำบลบางปลาม้า อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรีครอบคลุมพื้นที่ 2 หมู่ คือ หมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 12 ประกอบด้วย 332 ครัวเรือน มีประชากรประมาณ 1,300คน ครอบคลุมพื้นที่ 4,930 ไร่ มีอาณาเขตดังนี้ทิศเหนือ หมู่ที่ 5 บ้านเสาธง ตำบลบางปลาม้า อำเภอบางปลาม้าทิศใต้ หมู่ที่ 11 บ้านโพนไร่ ตำบลบางปลาม้า...

ประวัติชุมชนบางปลาม้า

สุพรรณบุรี  แหล่งท่องเที่ยวใกล้กรุงเทพฯ ที่มีสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญหลากหลายรูปแบบ หนึ่งในนั้นคือ ตำบลบางปลาม้า  บางปลาม้า เป็นหนึ่งในอำเภอของจังหวัดสุพรรณบุรี มีพื้นที่ 3.98 ตารางกิโลเมตร เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำซึ่งเกิดจากการทับถมกันของตะกอนลำน้ำ มีแม่น้ำท่าจีนไหลผ่านจากทิศตะวันออกสู่ทิศใต้ผ่านชุมชนเมืองสภาพพื้นที่เหมาะแก่การทำนาข้าว ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครมาทาง ทิศเหนือ 110 กิโลเมตร อำเภอบางปลาม้า มีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ที่สำคัญ ทั้งประเพณีทำบุญขึ้นปีใหม่  ประเพณีแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทาน ประเพณีบุญบั้งไฟชาวไทพวน และประเพณีตักบาตรกลางน้ำในปี พ.ศ. 2440 กำหนดเขตอำเภอบางปลาม้าตรงกับสมัยพระสมุทรคณานุรักษ์ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำท่าจีนตอนใต้ มี "ปลาม้า" ชุกชุม ที่ว่าการอำเภอหลังแรกตั้งอยู่บริเวณปากคลองบางปลาม้า ในปี 2442 เกิดเพลิงไหม้จึงได้ย้ายมาสร้างยังสถานที่ในปัจจุบัน อำเภอบางปลาม้าจึงเป็นอีกหนึ่งการท่องเที่ยวหลากหลายรูปแบบ ทั้งธรรมชาติภูเขา  ตลาดเก่าโบราณ ชุมชนวิถีชีวิต วัดวาอาราม และแหล่งประวัติศาสตร์

ตลาดเก้าห้องและฮู้ 100 ปี

ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลบางปลาม้า หมู่ที่ 2 อำเภอ บางปลาม้าตลาดเก้าห้อง   เป็นตลาดห้องแถวเก่าแก่ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน อายุประมาณ 100 ปี สร้างประมาณต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พื้นที่ชุมชนตลาดโบราณเก้าห้องตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันมีความหลากหลายของมรดกทางศิลปะและวัฒนธรรมทั้งด้านชาติพันธ์สถาปัตยกรรมวิถีชีวิตความเชื่อศาสนาภูมิปัญญาในด้านต่างๆ ตลาดเก้าห้องตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลบางปลาม้าอยู่ในเขตเทศบาลบางปลาม้าคำว่า "เก้าห้อง" นำชื่อมาจากบ้านเก้าห้องซึ่งอยู่ฝั่งวัดลานคาแบ่งเป็น 3 ตลาด  ตลาดบนมีอายุประมาณ 75 ปีลักษณะเป็นเรือนแถวไม้ 2 ชั้นพระชาญสุวรรณเขตเป็นผู้สร้างรูปแบบการก่อสร้างจุดหน้าสนใจในตลาดบนคือฮู้ 100 ปีฮู้"ยันต์ศักดิ์สิทธิ์แบบจีนที่ตลาดบนสร้างโดยพระชาญสุพรรณเขตมีอายุ 70 ปีเพื่อไว้แก้สิ่งไม่ดี ตลาดกลางมีอายุประมาณ 75 ปีสภาพเดิมเป็นโรงสีของนายทองดีต่อมาเมื่อโรงสีเริ่มเป็นที่รู้จักจึงสร้างเพิ่มเติมเป็นเรือนแถวเพื่อค้าขาย ตลาดล่างสร้างโดยนายบุญรอดเหลียงพาณิชคหบดีของตำบลวังมะขาม (ตำบลบางปลาม้า) อำเภอบางปลาม้ามีอายุประมาณ 90 ปีสร้างเป็นห้องแถว 2 รูปแบบการก่อสร้างเป็นแบบสถาปัตยกรรมจีน 

บ้านเก้าห้อง

บ้านเก้าห้อง เป็นบ้านของขุนกำแหงฤทธิ์ ต้นตระกูลของ คุณวิบูลย์ คุณเสมอใจ ประทีปทอง ตั้งอยู่ข้างวัดลานคา อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ตรงข้ามตลาดเก้าห้อง เป็นบ้านเรือนไทยฝาประกัน ใต้ถุนสูง ปลูกอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน ภายในบ้านจะแบ่งออกเป็น 9 ห้อง ห้องที่ 1  เป็นห้องรับแขกที่มาติดต่อ ห้องที่ 2  เป็นห้องเก็บหลักฐานภาษีอากรส่วยต่าง ๆ ห้องที่ 3  เป็นห้องเก็บรักษาตำรายาแผนโบราณ ห้องที่ 4  เป็นห้องดูฤกษ์ยาม พิธีกรรมต่าง ๆ ห้องที่ 5  เป็นห้องเก็บตำราฤาษีตัดตน ตำรานวดแผนโบราณ ห้องที่ 6  เป็นห้องกักขังผู้กระทำความผิดลหุโทษ มีโซ่ตรวนไว้ล่าม ห้องที่ 7  เป็นห้องเก็บสิ่งของพัสดุเครื่องใช้ ห้องที่ 8  เป็นห้องนอน ห้องที่ 9  เป็นโรงครัว ต่อมาในปี พ.ศ.2467...

การสร้างตลาดเก้าห้อง

การสร้างตลาดเก้าห้อง เป็นตลาดห้องแถวเก่าแก่ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน อายุประมาณ 100 ปีสร้างขึ้นประมาณต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยใช้การสร้างเป็นสถาปัตยกรรมแบบจีน มีลักษณะเป็นเรืองแถวไม้ 2 ชั้นพระชาญสุวรรณเขต คือผู้ทำการสร้างรูปแบบการก่อสร้าง เป็นเรือนแถวไม้ยาวต่อเนื่องทั้งสองฝั่งขนาบทางเดินตรงกลาง และสร้างหลังคาคร่อมระหว่างเรือนแถวทั้งสองฝั่งที่หันหน้าเข้าหาทางเดินตรงกลาง เนื่องจากสถาปัตยกรรมแบบจีนนั้น ไม่สลับซับซ้อนมากนัก อีกทั้งยังทำให้ผสมผสานกับสถาปัตยกรรมไทยได้อย่างลงตัว จึงจะเห็นได้จากบ้านเรือนในตลาดเก้าห้อง ที่มีมากว่า 100 ปีจนถึงปัจจุบันนั่นเอง

ประวัติบ้านเก้าห้อง

บ้านเก้าห้อง นับเป็นสถานที่บันทึกประวัติศาสตร์ชุมชนแห่งหนึ่งที่น่าสนใจ บ้านโบราณชื่อแปลกนี้ ได้บอกเล่าความเป็นมาของชุมชนที่ได้ชื่อตามบ้าน บ้านเก้าห้อง เป็นบ้านของขุนกำแหงฤทธิ์ ต้นตระกูลของ คุณวิบูลย์ คุณเสมอใจ ประทีปทอง ตั้งอยู่ข้างวัดลานคา อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ตรงข้ามตลาดเก้าห้อง เป็นบ้านเรือนไทยฝาประกันใต้ถุนสูง ปลูกอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน ภายในบ้านแบ่งออกเป็น 9 ห้อง เเต่ละห้องดังนี้ ห้องรับแขกที่มาติดต่อ , ห้องเก็บหลักฐานภาษีอากรส่วยต่าง ๆ, ห้องเก็บรักษาตำรายาแผนโบราณ, ห้องดูฤกษ์ยาม พิธีกรรมต่าง ๆ ห้องเก็บตำราฤาษีตัดตน ตำรานวดแผนโบราณ, ห้องกักขังผู้กระทำความผิดลงโทษ มีโซ่ตรวนไว้ล่าม,ห้องเก็บสิ่งของพัสดุเครื่องใช้, ห้องนอน, โรงครัว นอกจากนี้ภายในบริเวณบ้านจะมีศาลปู่ศาลย่าเป็นที่เคารพบูชาด้วย คำว่า  “เก้าห้อง”  นำมาจากชื่อของบ้านเก้าห้อง ซึ่งเป็นบ้านโบราณที่มีประวัติสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน ซึ่งสร้างขึ้นภายหลังจากที่มีชุมชนหนาแน่น  ก่อสร้างโดยคหบดีเชื้อสายจีนคนหนึ่งชื่อ“นายบุญรอด  เหลียงพานิช” ซึ่งเดิมชื่อ  “นายฮง“  บิดาเป็นคนจีนอพยพ ได้มาทำการค้าขายที่ริมแม่น้ำท่าจีน และมีกิจการค้ารุ่งเรืองดี ในราว   พ.ศ....

ประวัติไทยพวน

พวน ชาวพวน หรือไทยพวน เป็นกลุ่มชนที่มีอยู่กระจัดกระจายหลายจังหวัดในประเทศไทย ชาวพวนได้อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยหลายครั้งด้วยกัน คือ สมัยกรุงธนบุรีตอนปลาย สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ซึ่งชาวพวนที่อพยพมาแต่ละครั้งจะกระจายไปอยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ เช่น สุพรรณบุรี สระบุรี นครนายก ปราจีนบุรี ลพบุรี ราชบุรี สุโขทัย ฉะเชิงเทรา เป็นต้น  ชาวพวนในอำเภอบ้านหมี่นั้นอพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยสมัยใดยากที่จะกำหนดให้แน่ชัดได้ แต่ชาวไทยพวนบ้านหมี่ที่สูงอายุบอกเล่าต่อกันมาถึงเหตุที่อพยพมาเพราะหนีพวกฮ่อ และพวกแกว และจากหลักฐานด้านวัตถุประกอบคำบอกเล่าดังกล่าว ทำให้ทราบว่าชาวไทยพวนอพยพเข้ามาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า มากที่สุด และรองลงไปคือ สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยเรื่องราวการอพยพของชาวไทยพวนนี้ ทำให้ได้เห็นถึงประวัติศาสตร์และการดำเนินชีวิตของชาวพวนในสมัยอดีตจนถึงปัจจุบัน

นายบุญรอด เหลียงพาณิช

นายบุญรอด เหลียงพาณิช นายบุญรอด เหลียงพาณิช หรือที่รู้จักกันในนามหลวงอรรถวาทีธรรมประวัติ ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินดั้งเดิม ได้สร้างเรือนแถวและตลาดขึ้นริมฝั่งแม่น้ำ ตรงข้ามกับบ้านเก้าห้อง  นายบุญรอด เกิดเมื่อปี พ.ศ.2442 มีชื่อเดิมว่า ฮง เป็นลูกชายของชาวจีนอพยพ เมื่อตอนอายุได้ 12 ขวบได้เข้ากรุงเทพฯ มาค้าขายและทำงานก่อสร้าง ด้วยความประหยัดอุตสาหะทำให้มีทรัพย์สินพอเป็นทุนกลับมาค้าขายที่ สุพรรณบุรี นายฮง ได้ทำการเร่ค้าไปตามหมู่บ้านต่างๆ ขณะเดียวกันก็รับงานก่อสร้างพระเจดีย์พระปรางค์ ตามวัดต่างๆ เนื่องจากมีความรู้ทางการก่อสร้างติดตัวมาจากกรุงเทพฯ นายฮงแต่งงานกับสาวชาวบ้านมะขามล้ม และช่วยกันทำมาหากินจนมั่งคั่ง จนกระทั่งมาทำธุรกิจต่อแพ ค้าขายถาวรอยู่หน้าวัดเก้าห้อง และเปลี่ยนชื่อมาเป็น นายบุญรอด ความร่ำรวยของนายบุญรอดเองส่งผลร้ายให้กับตัวเขา เนื่องจากโจรได้มาจี้ปล้นทรัพย์และทำร้ายภรรยาของนายบุญรอดจนเสียชีวิต แต่สุดท้ายทางอำเภอก็สามารถตามจับตัวคนร้ายมาได้ หลังจากนั้นนายบุญรอดจึงคิดสร้างตลาดเพื่อทำการค้าขายบนบกขึ้นมาแทนและชาวบ้านเรียกตลาดนี้ว่า "ตลาดเก้าห้อง" ต่อมานายบุญรอดได้แต่งงานใหม่กับนางส้มจีน ทั้งคู่เป็นคนชอบทำบุญบริจาคทรัพย์เพื่อสร้างสาธารณะประโยชน์มากมาย ทำให้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักไปทั่วเมืองสุพรรณพร้อมๆ กับชื่อตลาดเก้าห้อง 

ขุนกำแหง ผู้สร้างบ้านเก้าห้อง

ขุนกำแหง ผู้สร้างบ้านเก้าห้อง ขุนกำแหงเป็นผู้มีความสามารถ เป็นที่นับถือของชาวลาว และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็นนายกองส่วย ทำหน้าที่เก็บอากรเข้ากรุงเทพฯ และเป็น "กำนัน" หัวหน้าหมู่บ้านคอยดูแลทุกข์สุขของชาวบ้าน ตัดสินคดีความ และช่วยเหลือขาวบ้านให้ร่มเย็น ได้อพยพมาทางบางปลาม้า และเล็งเห็นทำเลที่ตั้งของ บริเวณดังกล่าวว่าเป็นทำเลที่ตี จึงได้ช่วยกันปักหลักตั้งถิ่นฐานสร้างบ้านเรือนจนมั่นคงขึ้น ขุนกำแพง แหงฤทธิ์จึงได้สร้างบ้านขึ้น แต่ต่อมาถูกไฟไหม้เสียหาย จึงได้สร้างบ้านใหม่ดังกล่าว มีจำนวนเก้าห้อง และมีศาลเจ้าอยู่กายในบริเวณเดียวกันด้วย ตั้งแต่นั้นมาสู้คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวก็อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขตลอดมา