พิธีปลุกหลุ่มบ๊าน หรือ ปุ่ม บ๊าน ของชาวไทพิธี ปลุกหลุ่มบ๊าน หรือ ปุ่ม บ๊าน ของชาวไท#ชุมชนบางปลาม้ายพวน บางปลาม้า เป็นพิธีการ "ตั๊งสิมบ๊าน" หรือ หลักบ้านหลักเมือง ของพี่น้องซาวไทยพวน บ้านไผ่เดี่ยว หมูที่ 9 ต.วัดโบสถ์ อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี ก่อนจะถึงเวลาตั้ง ขั้นตอนแรกจะนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ก่อน จากนั้นตอนเช้าจึงถวายภัตตาหารเช้าแด่พระสงฆ์ พระจะสวดมนต์ นำสิ่งไม่ดีไม่งามออกไป พอได้ฤกษ์งามยามดี ก็จะทำพิธีเอาเสาลงหลุม ผู้ทำพิธีจะผูกพวงมาลัย ผ้าสามสี ปิดทอง ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ จะนำเงินทองลงหลุมก็ได้ พิธีต่อไปเป็นการทำพิธีเสียเสื่อม ผู้ทำพิธีคือ ลุงจ้าย หอมสุวรรณ, ลุงไสว อินทรีย์วงศ์, ลุงบุญส่ง หอมสุวรรณ, ลุงสวรรค์ อ่อนศรี โดยจะใส่ชุดขาว ผ้าขาวโพกหัว พิธีเสียเสื่อมจะใช้เวลานานเติบ จากนั้นนำดินเก่า แล้วเอาดินบนมาใส่แทน มีการฟื้นดิน...
Category: วัฒนธรรมท้องถิ่น
ภาษาไทยพวน
ภาษาไทยพวน ภาษาไทยพวนเป็นภาษาหนึ่งในเจ็ดกลุ่มใหญ่และได้สืบทอดมาจากยูนาน-เชียงแสน ราว 1000 ปีมาแล้ว ในปัจจุบันนี้แผนที่ประเทศไทย จากแผนที่ภาษาในประเทศไทย ปรากฏว่า มีผู้พูดภาษาไทยพวนในประเทศไทยตามท้องถิ่นต่าง ๆ ดังนี้ คือ ลพบุรี สิงห์บุรี สระบุรี อุทัยธานี สุพรรณบุรี กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ สุโขทัย พิจิตร แพร่ นครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา เลย หนองคาย และอุดรธานีภาษาไทยพวนเป็นภาษาถิ่นซึ่งแปลกกว่าภาษาอื่นและยากแก่การศึกษาอย่างมากเพราะด้วยลีลาหรือสำเนียงของเสียงที่เปล่งออกของแต่ละคนที่เป็นต้นเสียง แต่เจ้าของภาษานั้นสามารถจับใจความและฟังการขึ้นลงของเสียงได้เป็นอย่างดีจึงสามารถสื่อสารและเข้าใจกันได้ง่ายเสียงพยัญชนะของภาษาไทยพวน จะมีหน่วยเสียงทั้งหมด 20 หน่วยเสียง คือมีพยัญชนะที่แตกต่างจากเสียงพยัญชนะของภาษาไทย 3 หน่วยเสียงเท่ากัน ภาษาไทยพวนจะไม่มีเสียง ช, ฉ จะออกเสียงเป็น ซ, ส แทน ไม่มีเสียง ร จะออกเสียงเป็น ฮ, ล แทน และเสียง ญ นาสิก...
เหรียญโปรยทาน
เหรียญโปรยทาน เหรียญโปรยทานทำขึ้นเพื่อใช้ในพิธีต่าง ๆ หรือเป็นของที่ระลึกสำหรับแจกคนในงาน เช่น งานบวช งานแต่ง และงานศพ เป็นต้น เหรียญโปรยทาน เป็นสินค้า OTOP ของ อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นเหรียญโปรยทานที่ทำมาจากยอดใบตาล เป็นวัสดุที่มาจากธรรมชาติ และเดิมทีทางกลุ่มชุมชนในอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ได้นำใบตาลที่มีอยู่มากในท้องถิ่นมาเป็นวัตถุดิบหลักในการพับดอกไม้ใส่เหรียญสำหรับการโปรยทานในงานบุญประเพณีต่าง ๆ ตามวัฒนาธรรมท้องถิ่นดั้งเดิม เพื่อเป็นการทดแทนการใช้วัสดุสังเคราะห์จำพวกพลาสติกและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทางกลุ่มชุมชนในอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี จึงได้มีแนวคิดที่จะสืบสานภูมิปัญญาให้คงอยู่#เหรียญโปรยทาน
ประเพณีบุญบั้งไฟ
ประเพณีบุญบั้งไฟจัดขึ้นในหมู่ชาวไทพวน ไทยเวียง ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เพื่อเป็นการบูชาเทวดาให้ฝนตกตามฤดูกาล มีการจัดเตรียมบั้งไฟแห่แหนไปวัดเพื่อยิงบั้งไฟ ปัจจุบันยังคงหาดูได้ใน ตำบลต่าง ๆ เช่น ตำบลบ้านโข่ง บ้านขาม ดอนคาในอำเภออู่ทอง และ ตำบลวัดโบสถ์ ตำบลมะขามล้ม อำเภอบางปลาม้าประเพณีบุญบั้งไฟชาวไทพวน งานประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นประเพณีสำคัญอีกประเพณีหนึ่งที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ และได้ดำเนินการจัดอย่างต่อเนื่องมาเป็นประจำทุกปีงานประเพณีบุญบั้งไฟ จะจัดขึ้น ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 เป็นวัน วิสาขบูชา หรือที่ชาวบ้านเรียกงานว่าบุญเดือน 6 เป็นวันที่เริ่มเข้าสู่ฤดูทำนา ซึ่งการจุดบั้งไฟเป็นความเชื่อว่าเป็นการบูชาพระยาแถนซึ่งเป็นเทวดาที่ทำให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล ได้รับรู้ว่าได้เข้าสู่ฤดูทำนาอย่างเป็นทางการแล้ว เกษตรกรเริ่มทำนาแล้วจึงจุดบั้งไฟส่งข่าวขอให้พระยาแถนบันดาลให้ฝนตกลงมาให้ชาวนา มีน้ำไว้ทำการเกษตรตามความเชื่อดั้งเดิม และยังเป็นการประกวดแข่งขันบั้งไฟของหมู่บ้านชาวไทพวนที่อยู่ใน อำเภอบางปลาม้า เพื่อการสนุกสนาน สามัคคี และเป็นการอนุรักษ์ประเพณีของชาวไทยพวน ซึ่งจะจัดเป็นประจำทุกปี ในช่วงวันที่ 11- 13เมษายน ณ เทศบาลบางปลาม้า) บ้านเก้าห้อง (ตำบลบางปลาม้า)ประเพณีบุญบั้งไฟเป็นประเพณีที่สำคัญ...
ประเพณีกำฟ้า
ประเพณีกำฟ้าเป็นประเพณีของชาวไทพวนในต่างจังหวัด ที่มีชาวพวนอาศัยอยู่ได้ยึดถือปฏิบัติต่อกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณ “กำ” ในภาษาไทพวน หมายถึง การนับถือและสักการะบูชา ดังนั้น กำฟ้า จึงหมายถึงประเพณีนับถือ สักการะบูชาฟ้า เนื่องจากชาวพวนเป็นกลุ่มชนที่ประกอบอาชีพทางการเกษตร โดยเฉพาะการทำนา ในสมัยดั้งเดิมการทำนาต้องอาศัยน้ำฝนจากธรรมชาติ ชาวนา ในสมัยนั้นจึงมีการเกรงกลัวฟ้ามาก ไม่กล้าที่จะทำอะไรให้ฟ้าพิโรธ ถ้าฟ้าพิโรธย่อมหมายถึง ความแห้งแล้ง อดยาก หรือฟ้าอาจผ่าคนตาย ประชาชนกลัวจะได้รับความทุกข์ยากอันเป็นภัยจากฟ้า จึงมีการเซ่นสรวง สักการะบูชาผีฟ้า ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเอาใจ มิให้ฟ้าพิโรธ หรืออีกนัยหนึ่ง ชาวบ้านที่ประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรมนั้น รู้สึกสำนึกในบุญคุณของผีฟ้าที่ได้ให้น้ำฝน อันหมายถึงความชุ่มชื้น ความอุดมสมบูรณ์ มีชีวิตของคน สัตว์ และพืชพรรณต่างๆ จึงได้เกิดประเพณีกำฟ้าขึ้น เพื่อเป็นการประจบผีฟ้าไม่ให้พิโรธ และเป็นการแสดงความขอบคุณต่อเทพยาดาแห่งท้องฟ้าหรือผีฟ้า โดยชาวไทพวนทุกคนจะหยุดทำงานทุกชนิด คือ หยุดทำไร่ ทำนา ทอหูก ปั่นฝ้าย ตีเหล็ก แม้แต่อุปกรณ์เครื่องมือทำมาหากินก็ต้องเก็บเข้าที่ให้หมด คงเหลือแต่อุปกรณ์ในการหุงหาอาหารในแต่ละมื้อเท่านั้น ในวันกำฟ้า ชาวไทยพวนจะมีกิจกรรมร่วมกัน คือการทำบุญตักบาตรในตอนเช้า การละเล่น ในตอนกลางคืนและการพบปะสังสรรค์ระหว่างเครือญาติด้วยกัน...
บ้านโพธิ์ศรี
บ้านโพธิ์ศรีความเป็นมาของชุมชนบ้านโพธิ์ศรีชุมชนบ้านโพธิ์ตศรีเป็นหมู่บ้านของไทยพวน ซึ่งบรรพบุรุษอพยพมาจากเมืองเชียงขวาง แขวงเมืองหลวงพระบาท ประเทศลาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประมาณปี พ.ศ. 2322 ในช่วงสมัยกรุงธนบุรีและสมัยกรุงรัดนโกสินทร์ เจ้าพระยาพระมหากษัตริย์ตึกได้ยกทัพไปดีเมืองเวียงจันทร์และได้กว่าดตอนชาวลาวมาเป็นเชลยและให้อาศัยอยู่ตามหัวเมืองต่าง ๆโดยเริ่มแรกให้มาอยู่ที่บ้านสนามแจง อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี และย้ายมาอยู่ที่จังหวัดสุพรรณบุรี วัดบ้านเก่า ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2388 นายลำดวน พันธุ์ตรี ได้อพยพพี่น้องจากบ้านเก่ามาตั้งถิ่นฐานทำมาหากินให้ท้องทุ่งที่อุดมสมบูรณ์มีต้น โพธิ์ศรีอยู่เป็นจำนวนมากจึงตั้งชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านโพธิ์ศรี" ตั้งแด่นั้นมาสภาพทางภูมิศาสตร์ชุมชนบ้านโพธิ์ศรีเป็นส่วนหนึ่งของตำบลบางปลาม้า อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรีครอบคลุมพื้นที่ 2 หมู่ คือ หมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 12 ประกอบด้วย 332 ครัวเรือน มีประชากรประมาณ 1,300คน ครอบคลุมพื้นที่ 4,930 ไร่ มีอาณาเขตดังนี้ทิศเหนือ หมู่ที่ 5 บ้านเสาธง ตำบลบางปลาม้า อำเภอบางปลาม้าทิศใต้ หมู่ที่ 11 บ้านโพนไร่ ตำบลบางปลาม้า...
วิถีชีวิตชาวไทยพวน
วิถีชีวิตชาวไทยพวน เรื่องราววิถีชีวิตของชาวไทยพวน เสน่ห์และความเป็นเอกลักษณ์ในการดำรงชีวิตที่สืบทอดกันมาร่วม 100 ปี ชาวพวนมีนิสัย รักความสงบ ใจคอเยือกเย็น มีความโอบอ้อมอารี ยึดมั่นในศาสนา รักอิสระ มีความขยันขันแข็งในการการประกอบอาชีพ เมื่อว่างจากการทำไร่ทำนาก็จะทำงานหัตถกรรม คืชาวพวนจะมีภาษาเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ทั้งภาษาพูด และภาษาเขียน แต่ปัจจุบันภาษาเขียนจะไม่มีคนเขียนได้ ยังคงเหลือเพียงภาษาพูด ซึ่งมีสำเนียงคล้ายเสียงภาษาถิ่นเหนือ ปัจจุบันชาวพวนยังคงสภาพความเป็นสังคมเกษตรกรรม ยังมีความผูกพันกัน แน่นแฟ้นในหมู่ชาวพวน และมีความสัมพันธ์อันดีกับชาวไทยกลุ่มอื่น ทั้งยังคงพยายามรักษาประเพณี วัฒนธรรมของเผ่าพันธ์อย่างดีแต่เพราะความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุ และสภาพสังคม เศรษฐกิจ ที่เปลี่ยนไป ทำให้วิถีชีวิตของชาวพวนเปลี่ยนไปจากเดิมบ้าง เช่น ภาษาพูด คนหนุ่มสาวจะนิยมพูดภาษาไทยกลาง แม้จะอยู่ในหมู่เดียวกัน หรือประเพณีพื้นบ้านบางอย่างก็มีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจ เช่น แต่เดิมประเพณีใส่กระจาด ประเพณีเทศน์มหาชาติ จะจัดทำทุกปี และมีการทำอาหารเลี้ยงดู และใส่กระจาดกันทุกบ้านปัจจุบันจะไปใส่กระจาดกันที่วัดหากปีใดเศรษฐกิจไม่ดี ก็งดใส่กระจาด เป็นต้น และนิยมทำบุญด้วยเงินมากกว่าสิ่งของตามความนิยมของสังคมปัจจุบัน
สารทไทยพวน
"สารทเดือนเก้าหรือสารทไทยพวน" ประเพณีแห่งความกตัญญู 4 ข้อ ของชาวไทยพวน ประเพณีสารทพวน ไทยพวนก็เหมือนกับชน "เผ่าไท" ทุกชาติพันธุ์ ถือเป็นประเพณี "ฮีตสิบสองสองคลองสิบสี่" อาจมีแตกต่างกันไปบ้างในรายละเอียดแต่ "หัวใจ" ของประเพณีนั้นคือความสามัคคีกลมเกลียวกัน และเชื่อมโยงถึง "ศาสนา" คือการทำบุญวิถีพวน 29 สิงหาคม (แรม 14 ค่ำ เดือน 9) เดือน 9 "ประเพณีสารทพวน" เดือนเก้านี้ว่า เดือนเก้า "ทำบุญข้าวสะ" "ข้าวสะ" หมายถึงการเตรียมทำข้าวให้สะอาด 2-3วันก่อนถึง "วันสารทพวน" เพื่อนำมาทำ กระยาสารท ซึ่งสมัย 50 ปีก่อน "กระษาสารท" ไม่น่ากินเหมือนสมัยนี้ ที่ใส่งาและอื่นๆมาผสมน่ากิน และยังมีขนมที่ขาดไม่ได้ใน.สารทพวน คือ ข้าวเหนียวแดง กาละแม และขนมกง เพราะฉะนั้น "กระยาสารท" ที่เราเรียกทุกวันนี้...
ประเพณีสงกรานต์ไทพวน
ประเพณีสงกรานต์ไทพวน ประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนานมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมประเพณีไทยอันดีงามให้คงอยู่สืบไปอีกทั้งเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดสุพรรณบุรีให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้รับรู้ถึงขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมและประเพณีไทย ประเพณีสงกรานต์โดยทั่วโดยวัตถุประสงค์และการปฏิบัติจะคล้ายๆกันทุกภาคของประเทศไทย แต่อาจจะแตกต่างกันเล็กน้อยปลีกย่อยตามแต่ละถิ่นกันไปวันที่สำคัญในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ได้แก่วันล่องวันสังขารล่อง ถือว่านางสังขาร (นางสงกรานต์) เสด็จลงมาในวันส่งท้ายปี ชาวบ้านจะนำเสื้อผ้าใหม่หรือที่ใช้ประจำวันไปสูด(สวด)เรียกว่าสูดเสื้อสูดผ้าชาวบ้านจะตื่นแต่เช้ามืดชำระร่างกายให้สะอาดวันเนาเป็นวันที่นางสังขารจากไป ถือว่าเป็นวันดีศรีสุข เริ่มต้นสิ่งใหม่ๆ เนื่องจากในช่วงงานเทศกาลสงกรานต์นั้นบรรดาบุตรหลานที่ออกไปทำงานและศึกษาหรือแยกไปอยู่ที่อื่นจะเดินทางกลับมาเยี่ยมบ้านเกิดและรดน้ำดำหัวบรรพบุรุษและหรือญาติผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือชาวไทยเชื้อสายลาวครั่งจะมีความผูกพันทางเครือญาติสูงมากซึ่งถือว่าเป็นเหตุผลที่มีการดำรงอยู่ของเผ่าพันธุ์และการธำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์เฉพาะตัวและยังคงเอกลักษณ์เฉพาะตัวของชาวไทพวนเอาไหว
“เฮี๊ยะขวัญข้าว” พิธีกรรมไทพวน
“เฮี๊ยะขวัญข้าว” พิธีกรรมไทพวนและความเชื่อร่วมอุษาคเนย์ ข้าวเป็นพืชพื้นเมืองชนิดหนึ่งของเอเชียเป็นอาหารหลักของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถึงร้อยละ 80 ความสำคัญของข้าวเห็นได้ชัดในหลายภาษาของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ใช้ ในความหมายแบบเดียวกันในเรื่องอาหารการกิน คำพูดเชื้อเชิญแขกมักจะอยู่ในรูปของคำถามที่ว่า “ทานข้าวมาหรือยัง” ซึ่งบ่งบอกถึงความสำคัญเชิงสังคมของการแบ่งปันอาหารและข้าวของ ในภูมิภาค บวกกับพื้นฐานอิทธิพลความเชื่อเกี่ยวกับผี นำมาสู่พิธีกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับข้าว เช่นเดียวกับกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทยซึ่งมีความผูกพันธ์เกี่ยวกับข้าวย่อมมีพิธีกรรมเกี่ยวข้าวตั้งแต่การปลูกจนถึงการเก็บเกี่ยว การทำขวัญข้าวหรือ ”เฮี๊ยะขวัญข้าว” ในภาษาไทพวนนั้นก็มีความเชื่อพื้นฐานมาจากอิทธิผลผี “เฮี๊ยะขวัญข้าว” หรือทำขวัญข้าวซึ่งอาจมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไปตามภาษาแต่ความหมายโดยรวมนั้นคือการชี้ให้เห็นบุญคุณของเทพ เทวดา ที่ช่วยปกปักรักษาให้ผลผลิตงอกงามสมบูรณ์ ข้าวมีอิทธิพลต่อผู้คนในอุษาคเนย์ในด้านต่าง ๆ ดังที่จะเห็นได้ว่าประเทศสมาชิกอาเซียนได้ให้ความสำคัญ กับข้าวโดยนำข้าวมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของอาเซียนที่แสดงว่าประชาชาติอาเซียนมีวัฒนธรรมร่วมกันผ่านข้าวซึ่ง เป็นอาหารหลักของประชากรทุกประเทศและมีบทบาทสำคัญต่อความมั่นคงด้านอาหารในภูมิภาคนี้ คติความเชื่อเกี่ยวกับ "ข้าว” ของคนในอุษาคเนย์ถือได้ว่ามีความผูกพันกันมานานนับพันปีพอ ๆ กับการใช้กลองมโหระทึก และจากความเชื่อของโลกในสังคมยุคใหม่ที่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทกับการเพิ่มผลผลิตมากขึ้นความเชื่อของการทำขวัญข้าวหรือ “เฮี๊ยะขวัญข้าว” ของไทพวนกลับใกล้เลื่อนหายกลายเป็นประเพณีเพื่อดึงดูดการท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียว ต่อไปเราคงพบเห็นประเพณีนี้ได้แค่ในบันทึกหรือเอกสารงานวิจัยที่รวบรวมไว้ในตู้เกรอะฝุ่นที่รอคอยเพียงแค่คนที่สนใจเปิดมาอ่าน....