วัดโพธิ์ลังกา

วัดโพธิ์ลังกา ตำบลบางปลาม้า วัดโพธิ์ลังกา เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 6 ตำบลบางปลาม้า อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ตั้งวัด เมื่อ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2531 เจ้าอาวาส พระอธิการวิสูตร กิตติวุฑฺโฒ วัดโพธิ์ลังกา เป็นวัดเป็นวัดที่มีพื้นที่สีเขียวเยอะเพราะติดกับป่า จึงทำให้บรรยากาศมีความชื้นและร่มเย็น ทางวัดได้มีการปลูกต้นทานตะวัน เพื่อที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเยี่ยมชมวัด ถ่ายรูป เสพบรรยากาศโดยรอบของวัดโพธิ์ลังกา 

วัดบ้านด่าน

วัดบ้านด่าน ตำบลบางปลาม้า วัดบ้านด่าน เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 4 ตำบลบางปลาม้า อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ตั้งวัด เมื่อ พ.ศ. 2385 รับวิสุงคามสีมา เมื่อ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2520 เจ้าอาวาส พระอธิการนพดล จิรสีโล  วัดบ้านด่าน เป็นวัดที่มีอากาศเย็นสบาย เพราะวัดติดกับริมน้ำ ทางวัดจึงจัดทำซุ้มศาลาริมน้ำ เพื่อให้นักท่องเที่ยวที่เข้ามาเยี่ยมชม ได้ทำบุญปล่อยปลา หรือสามารถให้อาหารปลาที่ริมน้ำได้สะดวกยิ่งขึ้น วัดบ้านด่าน มีศาลศักดิ์สิทธิ์ที่ขึ้นชื่อเรื่องขอพร นักท่องเที่ยวจึงนิยมมากราบไว้กัน นั้นก็คือ ศาล หลวงปู่ขาบ หรือ ศาล หลวงพ่อขาบ นั้นเอง ศาลของท่านตั้งเด่นเป็นสง่า ณ วัดบ้านด่าน นักท่องเที่ยวที่ผ่านไปที่วัดแห่งนี้จะรู้ได้ทันที

วัดทุ่งอุทุมพร

วัดทุ่งอุทุมพร ชุมชนบางปลาม้า  วัดทุ่งอุทุมพร เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 4 ตำบลบางปลาม้า อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2443 รับวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2485 เจ้าอาวาส พระใบฎีกา วิรัช ธมฺมกาโม เจ้าอาวาสวัดทุ่งอุทุมพร ตำนานวัดทุ่งอุทุมพร "เรือยาวเหลืองประดับ" ตำนานเรือยาว แลกโรงเรียน ประวัติศาสตร์คนรักเรือยาว ที่สุดแสนประทับใจ เรือยาวเหลืองประดับ ของวัดทุ่งอุทุมพร เรือถ้วยพระราชทาน ลำแรกของประเทศไทย. สมัยรัชกาลที่ 6 ปี 2466 ที่สนามบ้านหงส์ อ.บางปลาม้า สุพรรณบุรี เรือเหลืองประดับ เป็นเรือขุดสมัยพระเจ้าตากสิน จบภารกิจถูกทิ้งไว้ในกรุงเทพ "หลวงปู่ขาบ" วัดบ้านด่าน ไปขอมาจากกรุงเทพ เพื่อนำมาแข่งขันวันทอดกฐิน รุ่นราวคราวเดียวกับ กาไว (ธนูทอง) มณีเมฆลา...

วัดโพธิ์ศรี

วัดโพธิ์ศรี ตำบลบางปลาม้า พระครูโสภณสุตกิจ วัดโพธิ์ศรี ตำบลบางปลาม้า อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ท่านเกิดประมาณปี 2433 ท่านเป็นคนท้องถิ่นบ้านโพธิ์ นามสกุลท่าน คือ กางกั้น เมื่อครบบวชท่านได้บวช ณ พัทธสีมาวัดโพธิ์ศรี ท่านได้ศึกษาพระวินัยเป็นอย่างดี ตลอดจนได้พัฒนาวัดให้เจริญยิ่งขึ้น ท่านได้สร้างโรงเรียนวัดโพธิ์ศรี และได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสปกครองวัด ต่อมา ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูในปี 2480 และเป็นอุปชายะ และตำแหน่งเจ้าคณะตำบลมะขามล้ม ท่านยังได้สร้างเหรียญรุ่นแรกขึ้นได้แจกชาวบ้าน และผู้ที่มากราบท่านเท่าที่พบเจอมีแต่เหรียญทองแดงกะไหล่ทองส่วนใหญ่ เหรียญรุ่นแรกประสบการณ์ทางด้านแคล้วคลาดและเมตตาดี จึงทำให้ต้องทำขึ้นใหม่เป็นบล็อคหน้าเดิม แต่จะมีรอยแตกที่ใต้หน้าอก รอยแตกที่ริมฝีปากด้านขวา และพระจะพิมพ์ไม่ค่อยติด ต่อมาท่านสร้างเหรียญรุ่นสองปี พ.ศ. 2506 มีเนื้อทองแดงกะไหล่ทองและรมดำ ท่าที่พบเจอท่านได้สร้างเหรียญรุ่น 3 ปี พ.ศ. 2514 เป็นรุ่นท้ายที่สร้างทันท่านปลุกเสก เพราะหลวงพ่อท่านได้มรณภาพลงอย่างสงบวันที่ 22 กันยายน พ.ศ 2518 สิริอายุ 85 ปี

วัดเสาธงทอง

วัดเสาธงทอง ตำบลบางปลาม้า วัดเสาธงทอง เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 6 ตำบลสาลี อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ตั้งวัด เมื่อ พ.ศ. 2460 รับวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2481 เจ้าอาวาส พระปลัด ละเอียด อนาลโย วัดเสาธงทอง ตำบลสาลี อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี สร้างวัดมาครบ 100 ปี โดยมีหลักฐานของวัดคือ เขตพระราชทานวิสุงคามสีมา ในสมัย รัชกาล ที่ 6 ระบุ พ.ศ. สร้างวัด ว่า 2460 ปีนี้ ครบ 100 ปี และวันที่ 12 เมษายน 2560 มีพิธีเบิกพระเนตรพระใหญ่ "พระพุทธโสนันทชัยมงคล"...

วัดสวนหงส์

วัดสวนหงส์ ตำบลบางปลาม้า วัดสวนหงส์ตั้งอยู่ที่ 6 หมู่ 8 ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน ตรงข้ามตลาดบางปลาม้า มีแม่น้ำวกอ้อมวัดถึง 3 ทิศ 3 ด้าน จัดตั้งขึ้นเมื่อ พศ. 2379 โดยเศรษฐีสองสามีภรรยา ชื่อ นายสวน กับ นางหงส์ มีศรัทธาสร้างวัดขึ้นมา แล้วเรียกขานชื่อวัดว่า วัดสวนหงส์ ต่อมา ในปีพศ. 2408 ได้รับพระราชทาน วิสุงคามสีมา เจ้าอาวาสวัดสวนหงส์ ตั้งแต่รูปแรกจนถึงรูปปัจจุบัน มี 1. พระอธิการแก้ว นนฺทโชติ (พศ. 2449-2469) 2. พระครูแก้ว อิสฺสโร (พศ.2469-2489) 3. พระครูพิทักษ์ธรรมคุณ (พศ.2489-2491) 4. พระครูสุมนคณารักษ์ หรือ...

วัดขุนไกร

วัดขุนไกร ตำบลบางปลาม้า วัดขุนไกร เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ที่ 75 ตำบล บางปลาม้า อำเภอบางปลาม้า สุพรรณบุรี 72150 เจ้าอาวาส พระครูวิมลปริยัติกิจ ขุนไกร เป็นชื่อของพ่อขุนแผน ซึ่งเป็นนักรบที่เก่งกาจ ที่ได้ชื่อว่า วัดขุนไกร เพราะวัดนี้สร้างไว้เพื่อเป็น อนุสรณ์สถานถึงขุนไกรพลพ่าย นั้นเอง อุโบสถหรือโบสถ์ของวัดขุนไกร คาดว่ามีอายุราว 700-800 ปี เมื่อถึงหน้าน้ำท่วมจะถูกน้ำท่วมเป็นประจำ ทำให้ปฏิบัติกิจของสงฆ์ไม่ได้ จึงได้จ้างช่างมาทำการยกให้สูงขึ้น เมื่อขุดดินใต้ฐานพระประธานลึกลงไปประมาณ 1.50 เมตร จึงพบพระ เครื่องปั้นดินเผา ฯลฯ ถูกฝังอยู่จำนวนมาก จึงทำการเก็บขึ้นมา เมื่อชาวบ้านทราบข่าวต่างเดินทางมาดูกันจำนวนมาก จนทางวัดต้องปิดอุโบสถไว้ชั่วคราว เพราะเกรงว่าชาวบ้านจะแอบลักลอบเข้าไปขุดหาพระที่คาดว่ายังมีอีกจำนวนมาก

วัดกกม่วง

วัดกกม่วง ชุมชนบางปลาม้า  วัดกกม่วง เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 7 ตำบลบางปลาม้า อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ตั้งวัด เมื่อ พ.ศ. 2354 รับวิสุงคามสีมา เมื่อ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2526 เจ้าอาวาส พระครูปลัด อุทัย ปวโร วัดกกม่วง เป็นอีกหนึ่งวัดที่ติดกับแม่น้ำทำให้บรรยากาศโดยรอบของวัดร่มเย็น ทั้งนี้ยังมีการบูรณะและการสร้างอาคารต่าง ๆ เพิ่ม ทำให้ประชาชนที่จะนำของต่าง ๆ มาถวายวัดสะดวกมากยิ่งขึ้น  สิ่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเที่ยวที่ วัดกกม่วง ไม่ได้มีแค่บรรยากาศที่ร่มเย็นของภายในวัด หรืออาคารต่าง ๆ ภายในวัดอย่างเดียวเท่านั้น ยังมีเรือหางยาวที่เป็นจุดเด่นอีกหนึ่งอย่างที่ทางวัดภูมิใจนำเสนอแก่นักท่องเที่ยวให้ได้มาเยี่ยมชม และถ่ายรูปกลับไปอวดที่บ้าน

หอดูโจร

หอดูโจร เมื่อปี พ.ศ. 2477 นายบุญรอด (เถ้าแก่ฮง) ได้สร้างป้อมขึ้นมาหลังหนึ่งเป็นสถาปัตย์กรรมแบบจีน ใช้เวลาในการก่อสร้าง 1 ปีเศษ ป้อมหรือที่เรียกว่า"หอดูโจร" นี้ในปัจจุบันอยู่ในส่วนของตลาดล่างในตลาดเก้าห้อง หอดูโจร ตลาดเก้าห้อง มีลักษณะเป็นหอสูง 5 ชั้น กว้างประมาณ 3 เมตรยาวประมาณ 3 เมตร ชั้นบนสุดเป็นดาดฟ้า ที่บริเวณฝาผนังของแต่ละชั้นทุกด้านเจาะรูกลม โตขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 นิ้ว เหตุที่สร้างป้อมนี้ขึ้นมาก็เพราะว่า ในระยะนั้นพวกโจรหรือที่เรียกว่า “เสือ” หลายกลุ่มหลายพวก ได้ออกปล้นฆ่าเจ้าทรัพย์ และแย่งชิงทรัพย์สมบัติต่างๆในหมู่บ้าน และตามริมน้ำท่าจีนเสมอ และโดยเฉพาะนายบุญรอดหรือนายฮง ก็เคยโดนปล้นทรัพย์และทำร้ายนางแพ ภรรยาของนายฮงถึงแก่ความตายมาแล้วนายฮงจึงได้สร้างป้อมไว้สังเกตการณ์ และมีการเตรียมการป้องกันการปล้นสะดมของเสือทั้งหลาย ด้วยการให้อาสาสมัครซึ่งล้วนแต่เป็นชายฉกรรจ์เข้าเวรยามที่ป้อม คอยดูโจรที่จะมาปล้นบ้านในตลาด ซึ่งป้อมนี้สามารถมองเห็นจากรูที่เจาะไว้ได้ในระยะไกล ไม่ว่าทางบกหรือทางน้ำ ถ้าโจรผู้ร้ายเข้ามาปล้น คนที่ขึ้นไปประจำอยู่ในป้อมตามชั้นต่างๆจะมองเห็น และจะเคาะระฆังให้สัญญาณคนข้างล่างให้เตรียมพร้อมรับมือต่อสู้กับโจร และคนข้างบนก็เอาปืนส่องยิงตามรูทั้ง 4 ด้านของป้อม เพื่อต่อสู่กับโจรที่มาปล้นด้วยเมื่อสร้างป้อมเสร็จแล้วมีพวกโจรผู้ร้ายเข้าปล้นครั้งสองครั้งเท่านั้น แล้วโจรก็ไม่กล้าเข้ามาปล้นอีกเลยในครั้งนั้นป้อมหรือหอดูโจรนี้เมื่อสร้างเสร็จพระยารามราชภักดี...

พิพิธภัณฑ์ตลาดเก้าห้อง

พิพิธภัณฑ์ตลาดเก้าห้อง พิพิธภัณฑ์ตลาดเก้าห้องอยู่บริเวณตลาดล่าง ซึ่งเป็นตลาดดั้งเดิม ลักษณะของพิพิธภัณฑ์เป็นห้อง 1 คูหามี 2 ชั้น ภายในรวบรวมรูปถ่ายของตลาดเก้าห้องและหอดูโจร รวมถึงเครื่องใช้โบราณ เช่น วิทยุโบราณ ที่ใส่หมากพลู เตารีดถ่าน ถ้วยกระเบื้องเครื่องเคลือบ แก้วกาแฟโบราณ สิ่งที่โดดเด่นของพิพิธภัณฑ์คือเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำมาหากินของคนที่นี่ โดยชาวชุมชนได้ร่วมกันบริจาคเครื่องมือเครื่องใช้โบราณของตนให้พิพิธภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นกระต่ายขูดมะพร้าว เครื่องทำลอดช่องโบราณ เครื่องหนีบคั้นน้ำอ้อยโบราณทำจากไม้ อุปกรณ์เขียงหมูและมีดขนาดต่างๆ สำหรับชั้นบนจัดเป็นห้องนอนที่มีเตียงและม่านแบบโบราณ เหมือนกับมีคนอยู่อาศัยจริงๆ ไฮไลท์ที่น้อยคนจะรู้ คือ ท่อเก็บของกันไฟ ปกติพื้นที่นี่จะเป็นพื้นปูนแต่จะมีจุดหนึ่งที่เป็นไม้รูปแปดเหลี่ยม ความจริงบริเวณที่เห็นว่าเป็นไม้นี้ คือ ฝาท่อ ข้างในเป็นท่อลึกลงไปในดิน 3 เมตร เมื่อมีอัคคีภัยก็สามารถนำข้าวของเครื่องใช้ใส่ลงไปในท่อเพื่อเก็บรักษาให้ไม่มอดไหม้ไปกับเปลวเพลิง