ตามรอยละคร (กรงกรรม)

ตามรอยละคร (กรงกรรม)ละครกรงกรรม เป็นละครโทรทัศน์แนวชีวิตย้อนยุคสะท้อนสังคม เป็นเรื่องราวของย้อย เจ้าของร้านขายของช่า ที่ใหญ่ที่สุดในชุมแสง ย้อยมีลูกชาย 4 คน และหมายมั่นปั้นมือ วางแผนชีวิตในอนาคต ไว้ให้กับลูกทุกคน แต่แล้วเธอต้องพบกับความผิดหวัง เมื่อเฮียใช้ลูกชายคนโต ได้ภรรยาเป็นผู้หญิงกลางคืน อย่างเรณูมาเป็นภรรยา ย้อยกับเรณูจึงเป็นไม้เบื่อไม้เมากันมาตลอด พิไลคู่หมั้นของเฮียใช้จึงต้องมาแต่งงานกับประสงค์ ลูกชายคนรอง ส่วนกมลก็ถูกจับแต่งงานกับเพียงเพ็ญ ซึ่งเธอกำลังต้องท้องลูกของก้าน ที่ไม่มีใครรู้ ด้านมงคล ลูกชายคนสุดท้อง ซึ่งกำลังเรียนหนังสือ ใช้ชีวิตอย่างสนุกสนานตามประสาวัยรุ่น จนเกิดความผิดพลาดขึ้นในชีวิต ย้อยและหลักเช้งผู้เป็นสามี ละครกรงกรรมสร้างจากบทประพันธ์ของจุฬามณีและบทละครโทรทัศน์โดย ยิ่งยศ ปัญญา จำนวน 19 ตอน ตอนละ 150 นาที ออกอากาศครั้งแรกวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562 ถึง 30 เมษายน 2562 ทางช่อง 3HD สถานที่ถ่ายทำละครกรงกรรม คือที่ ตลาดเก้าห้อง อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี...

เรือนมารชาญต่อ

“เรือนมารชาญต่อ” ความเชื่อของไทพวน เชื่อว่าทุกคนคงเคยพบเห็นบ้านเรือนไทย หรือเรือนยกพื้นสูงกันมาแทบทุกคนแล้ว แต่เชื่อหรือไม่ว่าการปลูกหรือปรุงเรือนของแต่ละชาติพันธุ์ในประเทศไทยต่างมีความเชื่อที่เข้ามามีอิทธิพลต่อการปลูกเรือนเป็นอย่างมาก  ชาติพันธุ์ในประเทศไทยกว่า 56 กลุ่ม ต่างมีเอกลักษณ์ที่สะท้อนถึงการอยู่อาศัยของเจ้าของเรือน ไทพวนเองก็มีความเชื่อของการปลูกเรือนที่น่าสนใจอย่างยิ่ง หากเป็นเรือน ไทยภาคกลางเราจะพบมีการขยายต่อเติมเรือนออกไปสองข้างของเรือนพ่อเรือนแม่ตามขนาดของครอบครัวขยายซึ่งได้สะท้องอิทธิพลมาจนถึงปัจจุบัน แต่เรือนของไทพวนจะไม่มีการขยายต่อเดิม เพราะเชื่อว่า "เรือนมารชานต่อ" เป็นสิ่งที่ไม่ดีนำความอัปมงคลมาสู่ครอบครัว ดังนั้น เรือนของไทพวนจะไม่มีระเบียง หรือชานกว้างแบบบ้านเรือนไทยภาคกลาง ผังบริเวณของบ้านชานเรือนไทยพวนที่แตกต่างจากเรือนไทยภาคกลาง โดยทั่วไปมีองค์ประกอบหลัก คือ เรือนไทยและผู้งข้าว ต้องสร้างห่างจากความเชื่อ "ห้ามเงาบ้านทับยุ้ง และห้ามเงายุ้งทับบ้าน" เพื่อกันสิ่งอัปมงคลทับแม่โพสพ การสร้างยุ้ง บ้านจะนิยมสร้างบริเวณทิศเหนือต้องอยู่ห่างจากตัวบ้านพอควร เพื่อให้อากาศและแสงแดดส่องถึงสะดวกทำให้ข้าวไม่ชื้นไม่ขึ้นราและมีการใช้พื้นที่ใด้ถุนเรือนล้อนข้างมากความเชื่อของทิศทางการวางเรือนและบันไดทางขึ้น  ปัจจุบันพบว่าความเชื่อเรื่องนี้ยังคงอยู่ โดยทิศทางการวางเรือนของลาวพวน จะเนั้นไปที่ความสะดวกในการใช้สอยมากกว่า จึงพบว่าบางเรือนหันหน้าเข้าหาแม่น้ำบางเรือนวางเรือนแบบขวางตะวันโดยยึดหลักตามลักษณะของชุมชนริมน้ำที่อาศัยน้ำเพื่อประ โยชน์ในชีวิต ประจำวันเพื่อการค้าขายหรือเป็นเส้นทางคมนาคมจึงหันหน้าเรือนเข้าหาแม่น้ำเรือนที่หันหน้าเข้าหาแม่น้ำส่วนใหญ่เป็นเรือนเก่าที่ปลูกมานานตั้งแต่ในช่วงที่การสัญจรทางน้ำยังคงมีบทบาทส่วนบางเรือนจะวางเรือนแบบตามตะวัน คือ หันจั่วมาทางแม่น้ำอย่างไรก็ตามคติความเชื่อของชาวลาวพวนที่เน้นมากคือเรื่อง ทิศทางของบันไดที่จะไม่หันบันใคลงแม่น้ำเพราะถือว่าเป็นการตัดแม่น้ำเป็นสิ่งไม่ดีนำความอัปมงคลมาให้ สิ่งเหล่านี้ต่างสะท้อนให้เราได้เห็นว่าการให้ความสำคัญของการออกแบบที่ดีตั้งแต่ต้น นำมาสู่แบบแผนและความเชื่อของกลุ่มชาติพันธุ์ไทพวนได้ไม่น้อยเลย น่าห่วงว่าอิทธิพลของโลกยุคปัจจุบันการดำรงอยู่ของความเชื่ออาจไม่ตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์ที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นคำถามที่ว่าต่อไปเราจะยังพบเห็นความเชื่อของ “เรือนมารชานต่อ” นี้อยู่อีกหรือไม่?

คลองบางปลาม้า

คลองบางปลาม้า จากโคลงนิราศสุพรรณบทหนึ่งได้บรรยายถึงท้องน้ำลำคลองในบางปลาม้าโคลงสี่สุภาพทำให้เราเห็นภาพในอดีตของท้องน้ำลำธารในบ้านเมืองแห่งนี้ว่าในน้ำมีปลาในนามีข้าว สำหรับชื่อบางปลาม้ามีอยู่ด้วยกัน 2 นัยยะสิ่งแรกคือเมืองสุพรรณเป็นเมืองหน้าด่านมีการทำสงครามอาจจะมาจากบางพม่าและผิดเพี้ยนมาเป็นบางปลาม้าโดยคลองบางปลาม้าหรือคลองบางพม่าที่พม่ามาขุดไว้สำหรับทำสงครามและอีกนัยยะหนึ่งอำเภอบางปลาม้าในอดีตมีปลาชนิดหนึ่งชุกชมคือปลาม้าโดยชาวบ้านจับปลาจะพบปลาม้าทุกครั้งจึงสันนิฐานว่าชื่ออำเภอมาจากปลาม้า ปลาม้ามัจฉาพื้นถิ่นของไทยที่อาศัยอยู่ในแถบลุ่มแม่น้ำภาคกลางตอนล่างพบมากที่สุดในแม่น้ำท่าจีนจังหวัดสุพรรณบุรีจุดเด่นนั้นอยู่ที่ครีบหลังของตัวปลาจรดโคนหางเหมือนแผงคอของปลาม้า นี้คือหนึ่งในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่บอกผู้คนในปัจจุบันที่รับรู้ว่าปลาที่ชุกชมในแม่น้ำลำคลองในที่แห่งนี้ไม่ว่าจะเป็นปลาม้าหรือปลาชนิดใดๆก็แทบจะสูญพันธ์ไปตามธรรมชาติเสียแล้วอาจจะทำให้เราอุปมาอุปมัยได้ว่าบางปลาม้าในยุคนี้กล่าวเป็นบางปลาชัยไปแล้ว

บ้านเฮือนชุมชนไทยพวน 

บ้านเฮือนชุมชนไทยพวน  บ้านเรือนคนไทยพวนสมัยกว่าครึ่งศตวรรษมา ว่ากันว่าบ้านเรือนสมัยนั้นนิยมปลูกบ้านทรงไทยจั่วแหลม และทรงปั้นหยา นิยมทำเป็นเรือนเครื่องผูกลุฟัก ใซ้ไม้สักเป็นส่วนใหญ่ เพราะสมัยนั้นอุดมไปด้วยป่าไม้   บ้านบางหลังก็นำเอาไม้ไผ่มาสานขัดแตะผสมผสานกับไม้จริงหลังคาบ้านเรือนยุคนั้นนอกจากจี่มุงจากสังกะสีแล้ว ผู้มีฐานะจะจี่มุงกระเบื้องทรายอัด ละจะจี่ระบุ ปี พ.ศ.ที่สร้าง หรือคำอวยพรเป็นมงคลต่าง ๆ      แต่มายุคสมัยนี้บ้านเรือนก็ทรุดโทรมตามกาลเวลา การซ่อมบ้านเรือนเป็นการอนุรักษ์หลังเก่าไว้ บางบ้านใซ้วัสดุตามยุคสมัยเพราะประหยัดสะดวก บางบ้านเน้นอนุรักษ์ใซ้วัสดุของเก่า แต่ส่วนใหญ่ก็จะนิยมการดีดบ้าน อันนี้แล้วแต่ความพอใจของเจ้าของบ้านหรือตามคำแนะนำของซ่าง 

นิราศสุพรรณ

นิราศสุพรรณ กล่าวคือ สุนทรภู่ ได้เดินทางมาเมืองสุพรรณบุรี ใน ปี.พ.ศ.2379 และได้ผ่าน “บางปลาม้า" คำว่า “บางปลาม้า" พบเห็นครั้งแรกในโคลงนิราศสุพรรณของสุนทรภู่ ที่เดินทางมาตามลายแทงเพื่อค้นหาปรอท ปูนเพชร เหล็กไหล เพื่อนำไปเป็นส่วนผสมสำคัญในการเล่นแร่แปรธาตุ ที่ทำให้โลหะกลายเป็นทองคำ ซึ่งตามลายแทงบอกว่ามีอยู่ที่เมืองสุพรรณบุรี จนผ่านมาถึงบ้านบางปลาม้า ต้องถือว่าเป็นปีที่ทำให้ทุกคนได้รู้จัก คำว่า "บางปลาม้า" ครั้งแรกในเอกสาร ท่านได้กล่าวถึงการเดินทางผ่านบางปลาม้าไว้ ดังนี้ 112 บางปลาม้าป่าอ้อ. กอรกำ ไม้ไผ่ใหญ่สลวยลำ สล้างเฟื้อย ชาวบ้านย่านนั้นทำ ที่ไร่ ไว้แฮ ปลูกผักฟักแฟงเลื้อย ลูกห้อยย้อยไสว ฯ จากเนื้อหาของโคลงนิราศสุพรรณ เมื่อผ่าน "บางปลาม้า" จะพบว่าได้บรรยายถึงป้าอ้อขึ้นเป็นกอมากมาย อีกทั้งป่าไผ่ดงใหญ่ลำไม้ไผ่ใหญ่สูงลำต้นไผ่สวยงาม อีกทั้งชาวบ้านบางปลาม้ายังปลูกผักฟักแฟงและทำร้านให้เลื้อยขึ้นไปออกผลห้อยระย้าเต็มไปหมดเป็นวิถีชีวิตริมแม่น้ำสุพรรณบุรีแต่โบราณ