บ้านโพธิ์ศรี
ความเป็นมาของชุมชนบ้านโพธิ์ศรีชุมชนบ้านโพธิ์ตศรีเป็นหมู่บ้านของไทยพวน ซึ่งบรรพบุรุษอพยพมาจากเมืองเชียงขวาง แขวงเมืองหลวงพระบาท ประเทศลาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประมาณปี พ.ศ. 2322 ในช่วงสมัยกรุงธนบุรีและสมัยกรุงรัดนโกสินทร์ เจ้าพระยาพระมหากษัตริย์ตึกได้ยกทัพไปดีเมืองเวียงจันทร์และได้กว่าดตอนชาวลาวมาเป็นเชลยและให้อาศัยอยู่ตามหัวเมืองต่าง ๆโดยเริ่มแรกให้มาอยู่ที่บ้านสนามแจง อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี และย้ายมาอยู่ที่จังหวัดสุพรรณบุรี วัดบ้านเก่า ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2388 นายลำดวน พันธุ์ตรี ได้อพยพพี่น้องจากบ้านเก่ามาตั้งถิ่นฐานทำมาหากินให้ท้องทุ่งที่อุดมสมบูรณ์มีต้น โพธิ์ศรีอยู่เป็นจำนวนมากจึงตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านโพธิ์ศรี” ตั้งแด่นั้นมา
สภาพทางภูมิศาสตร์
ชุมชนบ้านโพธิ์ศรีเป็นส่วนหนึ่งของตำบลบางปลาม้า อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรีครอบคลุมพื้นที่ 2 หมู่ คือ หมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 12 ประกอบด้วย 332 ครัวเรือน มีประชากรประมาณ 1,300คน ครอบคลุมพื้นที่ 4,930 ไร่ มีอาณาเขตดังนี้
ทิศเหนือ หมู่ที่ 5 บ้านเสาธง ตำบลบางปลาม้า อำเภอบางปลาม้า
ทิศใต้ หมู่ที่ 11 บ้านโพนไร่ ตำบลบางปลาม้า อำเภอบางปลาม้า
ทิศตะวันออก เทศบาลตำบลบางปลาม้า ตำบลบางปลาม้า อำเภอบางปลาม้า
ทิศตะวันตก ตำบลมะขามล้ม ตำบลบางปลาม้า อำเภอบางปลาม้า
สภาพภูมิประเทศ
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม บางส่วนเป็นที่ดอน แต่มีแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง อยู่ทั่วไปพื้นที่ส่วนใหญ่เหมาะสำหรับการทำนา
สภาพทางสังคม
ประชากรส่วนใหญ่มีเชื้อสายไทยพวน ถิ่นฐานดั้งเดิมของชาวพวนอยู่ที่เมืองพวน ซึ่งอยู่ทางด้านเหนือของเมืองเชียงขวาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ชาวพวนได้อพยพเข้ามาอยู่กระจายไปตามจังหวัดต่าง ๆ ชาวไทยพวนบ้านโพธิ์ศรีมีลักษณะโดดเด่นด้านวิถีชีวิตแบบเรียบง่ายพอเพียงสมถะ เกื้อกูล เป็นคนโอบอ้อมอารี ยึดมั่นในศาสนา รักสงบ แต่ขยันทำมาหากิน มีการสืบทอดภูมิปัญญาอันล้ำค่า ซึ่งเป็นมรดกทางความคิดเป็นงานฝีมือ ทำให้วิถีการดำเนินชีวิตสอดคล้องกับแนวทางตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งประกอบด้วยมีความพอประมาณ มีเหตุผลและมีภูมิคุ้มกันพร้อมทั้งมีความรู้และคุณธรรมเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต
ประเพณีและกิจกรรมทางวัฒนธรรม
ชุมชนดลาดเก้าห้อง เป็นชุมชนที่มีการผสมผสานระหว่างขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของชาวไทย ชาวจีน และชาวลาวพวน โดยแต่ละประเพณี จะมีเอกลักษณ์ของตนเอง และเน้นการสร้างความสามัคคี รวมถึงการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อคนในชุมชนด้วยกัน เช่น ประเพณีสารทไทยพวน ประเพณีสงกรานต์ บั้งไฟไทยพวน ประเพณีกำฟ้า (การบูชาเทพยคาฟ้าดิน) ประเพณีเฮียะขวัญข้าว (การเรียกขวัญข้าว) ประเพณีแข่งเรื่อยาว และงานสมโภชประจำปีของศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ซึ่งจะมีในช่วงเดือน 5 ถึงเดือน 7 ของทุกปี และจะมีการเฉลิมฉลองด้วยงิ้ว สำหรับประเพณีที่ส่งผลต่อกูมิปัญญาในรูปแบบการตั้งถิ่นฐานและวิถีชีวิตของชุมชนแห่งนี้เป็นอย่างมากคือประเพณีการปลูกเรือนซึ่งมีรายละเอียดที่แตกต่างจากเรือน ไทยภาคกลางทั่ว ๆ ไปดังนี้
การขยายตัวของเรือนหากเป็นเรือน ไทยภาคกลาง จะมีการขยายต่อเติมเรือนออกไปสองข้างของเรือนพ่อเรือนแม่ แต่ละเรือนของลาวพวนจะไม่มีการขยายต่อเดิม เพราะเชื่อว่า “เรือนมารชานต่อ” เป็นสิ่งที่ไม่ดีนำความอัปมงคลมาสู่ครอบครัว ดังนั้น เรือนของลาวพวนจะไม่มีระเบียง หรือชานกว้างแบบบ้านเรือนไทยภาคกลาง
ผังบริเวณของบ้านชานเรือนไทยพวนที่แตกต่างจากเรือนไทยภาคกลาง โดยทั่วไปมีองค์ประกอบหลัก คือ เรือนไทยและผู้งข้าว ต้องสร้างห่างจากความเชื่อ “ห้ามเงา บ้านทับยุ้ง และห้ามเงายุ้งทับบ้าน” เพื่อกันสิ่งอัปมงคลทับแม่โพสพ การสร้างยุ้ง บ้านจะนิยมสร้างบริเวณทิศเหนือต้องอยู่ห่างจากตัวบ้านพอควร เพื่อให้อากาศและแสงแดดส่องถึงสะดวกทำให้ข้าวไม่ชื้นไม่ขึ้นราและมีการใช้พื้นที่ใด้ถุนเรือนล้อนข้างมากความเชื่อของทิศทางการวางเรือนและบันไดทางขึ้น พบว่าปัจจุบันความเชื่อเรื่องนี้ยังคงอยู่ โดยทิศทางการวางเรือนของลาวพวน จะเนั้นไปที่ความสะดวกในการใช้สอยมากกว่า จึงพบว่าบางเอนหันหน้าเข้าหาแม่น้ำบางเรือนวางเรือนแบบขวางตะวันโดยยึดหลักตามลักษณะของชุมชนริมน้ำที่อาศัยน้ำเพื่อประ โยชน์ในชีวิต ประจำวันเพื่อการค้าขายหรือเป็นเส้นทางคมนาคมจึงหันหน้าเรือนเข้าหาแม่น้ำเรือนที่หันหน้าเข้าหาแม่น้ำส่วนใหญ่เป็นเรือนเก่าที่ปลูกมานานตั้งแต่ในช่วงที่การสัญจรทางน้ำยังคงมีบทบาทส่วนบางเรือนจะวางเรือนแบบตามตะวัน คือ หันจั่วมาทางแม่น้ำอย่างไรก็ตามคติความเชื่อของชาวลาวพวนที่เน้นมากคือเรื่อง ทิศทางของบันไดที่จะไม่หันบันใคลงแม่น้ำเพราะถือว่าเป็นการตัดแม่น้ำเป็นสิ่งไม่ดีนำความอัปมงคลมาให้