การแข่งขันเรือยาว

การแข่งขันเรือยาว การแข่งขันเรือยาวของอำเภอบางปลาม้า เป็นประเพณีเก่าแก่ที่มีการสืบทอดมาแต่โบราณกาลนานกว่า 100 ปี ในปี พ.ศ. 2466 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้เสด็จประพาสเมืองสุพรรณบุรี ทางน้ำ และโปรดให้ข้าราชบริพารปลูกพลับพลาที่ประทับ ที่ลาดปลาเค้า และมีกระแสรับสั่งให้เชิญเรือยาวในอำเภอบางปลาม้า มาแข่งขันหน้าพลับพลาที่ประทับ ซึ่งในกาลนั้นมีเรือยาวที่เข้าร่วมแข่งขันด้วยกัน 7 ลำคือ เรือเข็มทอง เรือหงส์ทอง เรือมะนาวกลิ้ง เรือศรีสุวรรณ เรือธนูทอง เรือมณีเมขลา และเรือเหลืองประดับ เรือที่ชนะเลิศในการแข่งขันครั้งนี้คือ เรือเหลืองประดับ จากวัดทุ่งอุทุมพร ได้รับขันเงินพระราชทานสลักชื่อปรากฏที่ขันว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

งานสมโภชประจำปีของศาลเจ้าพ่อหลักเมือง 

งานสมโภชประจำปีของศาลเจ้าพ่อหลักเมือง  งานสมโภชประจำปีของศาลเจ้าพ่อหลักเมือง หรือที่เรียกกันว่า งานทิ้งกระจาด จังหวัดสุพรรณบุรี งานทิ้งกระจาด เป็นงานประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนานมาก ซึ่งจากการสอบถามข้อมูลจากผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในตัวเมืองจังหวัดสุพรรณบุรีที่ยังมีชีวิตอยู่ และผู้ที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงตัวเมือง หรือต่างอำเภอ ทราบว่าได้มีการจัดงานทิ้งกระจาดขึ้นมาแล้วราว ๆ ๑๓๐ ปี ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๕ ขึ้นครองราชย์ และตรงกับ พ.ศ. ๒๔๒๓ รัตนโกสินทร์ศก (รศ. ๙๙ ปี) ปีมะโรง สถานที่จัดงานในสมัยแรก ๆ จัดที่ตลาดใหม่ริมแม่น้ำสุพรรณบุรี ในอดีต

ประเพณีตักบาตรกลางน้ำ

ประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้ง 100 กว่าปีประเพณีแห่งการสืบสารวัฒนธรรมการดำรงชีวิตของชาวบ้าน สองฝั่งริมแม่น้ำสุพรรณบุรี งานประเพณีตักบาตรกลางน้ำ ที่แม่น้ำท่าจีนหน้าวัดป่าพฤกษ์ อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรีได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่โบราณ ประมาณ 100 กว่าปี อันเป็นประเพณีที่งดงามและมีคุณค่าอย่างยิ่ง เป็นการแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นที่เลื่อมใสและศรัทธาในพระพุทธศาสนา ชาวบ้านแหลมใช้แม่น้ำท่าจีนเป็นเส้นทางหลักในการคมนาคมและการดำรงชีวิตจากวิถีชีวิตของ ชาวแม่น้ำ ที่พระสงฆ์ จะใช้เรือพายออกรับบิณฑบาตจากชาวบ้านริมสองฝั่งแม่น้ำเป็นประจำ เมื่อว่างเว้นจากการทำนา ก็จะนิมนต์พระรับบิณฑบาตรพร้อมกันในช่วงเวลารุ่งอรุณประมาณตีหาครึ่งถึงหกโมงเช้า ของวันแรม 12 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปีและ เพื่อสืบสานฟื้นฟูประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นของชาวบ้านไทยญวนที่อาศัยชาวบ้านไทยญวณจะร่วมแรงร่วมใจกันอัญเชิญองค์แม่พระแห่งภูเขาคาร์แมลลงเรือที่ตกแต่งด้วยดอกไม้สีสันต่างๆ อย่างสวยงาม ขบวนเรือแห่แม่พระจะล่องไปตามลำคลองประชาชนที่นับถือศาสนาคริสต์ได้สวดภาวนาขอพรและขอบคุณแม่พระที่ได้ประธานทุกสิ่งทุกอย่างให้แก่เรา

ประเพณีหาบจังหัน

ประเพณีหาบจังหัน ตักบาตรหาบจังหันประเพณีสุดแปลกที่ใครหลายๆคนอาจจะยังไม่เคยเห็นของชาวไทพวน ตักบาตรหาบจังหันประเพณีสุดแปลก !!! ที่ใครหลายๆคนอาจจะยังไม่เคยเห็นซึ่งเราได้ไปสัมผัสและได้พบเห็นกับวิถีชีวิตชุมชนของชาวไทพวนบอกได้เลยว่าเป็นประเพณีท้องถิ่นที่ทำสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษเป็นการนำกับข้าวไปถวายพระที่วัดคือเมื่อพระสงฆ์เดินกลับวัดไปแล้วแต่ละบ้านก็จะนำอาหารที่จะถวายมาวางหน้าบ้านจากนั้นก็จะมีนางหาบซึ่งเป็นเหมือนสะพานบุญนำอาหารของแต่ละบ้านที่วางไว้หาบไปถวายพระสงฆ์ที่วัดนั่นเองซึ่งการตักบาตรลักษณะนี้มักพบเห็นในประเทศลาวซึ่งในประเทศไทยก็จะมีชาวไทพวนอยู่ตามชุมชนหรือบางจังหวัดในไทยเท่านั้น

ผ้าพื้นเมืองของชาวไทยพวน

ผ้าพื้นเมืองของชาวไทยพวน นุ่งผ้าซิ่นตีนดำหมายถึงคนที่แต่งงานแล้ว นุ่งผ้าซิ่นตีนแดงซิ่นตีนจกหมายถึงสาวโสด ผู้ชายในชุมชนหาดเสี้ยวเองก็แบ่งแยกการใช้ผ้าขาวม้า คนรุ่นหนุ่มจะใช้ผ้าขาวม้าสีสดใสมีจกรูปช้าง  รูปมา ผู้สูงอายุจะใช้แต่ผ้าขาวม้าสีเข้มไม่มีลวดลาย ผ้าที่ทอเพื่อใช้ในโอกาสพิเศษต่างๆนี้โดยมากเป็นการทอจกชาวบ้านของชาวไทพวนจึงมีความสามารถในการทอผ้าจกและสืบทอดกันมาจนปัจจุบันการทอผ้าพื้นเมืองโดยเฉพาะการทอเป็นซิ่นตีนจกทำกันอย่างแพร่หลายทั้งในชุมชนชาวไทพวนผ้าที่ผลิตในบริเวณหมู่บ้านเหล่านี้รู้จักกันทั่วไปว่า”ผ้าหาดเสี้ยว”อาจเป็นเพราะเป็นแหล่งกลางในการซื้อขายผ้าทอพื้นบ้านแม้ผ้าที่ทอจากเขตอื่นของในจังหวัดสุพรรณบรีที่มีขายอยู่ในบริเวณที่มีชาวไทพวนอาศัยอยู่ก็มักถูกเรียกรวมไปว่าเป็นผ้าหาดเสี้ยวด้วยผ้าทอสาดเสี้ยวในปัจจุบันยังคงรักษาลักษณะเฉพาะถิ่นเฉพาะกลุ่มชนไว้แล้วลวดลายสีสันในปัจจุบันจะพัฒนาไปตามความต้องการของตลาดสิ่งที่ยังคงอยู่คือองค์ประกอบหลักของลวดลาย