ศาลเจ้าพ่อทุ่งแค

"ศาลเจ้าพ่อทุ่งแคเป็นศาลเจ้าเก่าแก่ตั้งอยู่ที่ปากทางตลาดบนของตลาดเก้าห้อง ศาลเจ้าพ่อทุ่งแคตั้งอยู่ที่ตลาดบนของตลาดเก้าห้องสุพรรณบุรีเทพเจ้าสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองตลาดเก้าห้องเป็นที่เคารพกราบไหว้บูชาครั้งบรรพชนมานานนับ 100 ปีตั้งแต่ยังเด็กๆโดยตลาดเกาห้องมีอายุประมาณ 74 ปี   ลักษณะเป็นห้องแถวไม้ 2 ชั้นแบบสถาปัตยกรรมจีน  ประมาณ 20 ห้อง  พระชาญสุวรรณเขตเป็นผู้สร้าง  สถานที่น่าสนใจของตลาดนี้ก็คือ  ฮู้ใหญ่โบราณและม่านชักรอกภูมิปัญญาพื้นบ้าน ศาลเจ้าพ่อทุ่งแคการเดินทางสู่ตลาดเก้าห้องจากเส้นทางบางบัวทอง-สุพรรณบุรีเมื่อถึงอำเภอบางปลาม้าเลี้ยวซ้ายเข้าทางวัดลานคาที่หน้าวัดจะมีสะพานเล็กๆข้ามแม่น้ำไปตลาดเก้าห้องตลาดเก้าห้องแบ่งออกเป็นสามส่วนเรียกว่าตลาดบนตลาดกลางและตลาดล่างเป็นซอยเล็กๆมีร้านค้าอยู่ตลอดแนวสำหรับศาลเจ้าพ่อทุ่งแคอยู่ตรงปากซอยตลาดบน ศาลเจ้าพ่อทุ่งแคได้มีการสันนิฐานว่าสร้างขึ้นพร้อมกับตลาดล่างที่มีอุเกือบ 100 ปีแต่ที่นำมาตั้งที่ส่วนของตลาดบนนั้นเพราะตามหลังฮวงจุ้ยของการตั้งศาลหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ดินต้องที่ตั้งศาลเจ้าพ่อทุ่งแค่เป็นบริเวณที่ดีที่เหมาะแก่การตั้งศาลเจ้าพ่อทุ่งแคเป็นที่สุด

ศาลเจ้าแม่ทับทิม

เรื่องราวของศาลเจ้าแม่ทับทิมศาลกลางสิ่งศักสิทธิ์คู่ตลาดเก้าห้อง ศาลเจ้าแม่ทับทิมจากการสันนิฐานเป็นศาลของคนจีนตระกูลแซ่ลิ้มคนจีนจากโพ้นทะเลศาลเจ้าแม่ทับทิมอายุประมาน 100 ปีกว่าบูรณะจากศาลไม้ไผ่เป็นศาลปูนจนถึงทุกวันนี้เป็นที่เคารพบูชาของชาวตลาดและชาวบ้านระแวกใกล้เคียงเหมาะกับการไหว้ขอพรซึ่งชาวบ้านแถวนี้จะเรียกเจ้าแม่ทับทิมว่า “อาม่าและเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมของคนไทยเชื้อสายจีน ใครที่มีเชื้อสายแซ่ลิ้มก็ขอเชิญมากราบไหว้เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตัวในเทศกาลสำคัญต่างๆและเป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนไทยเชื้อสายจีน

ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองตลาดล่าง 

ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองตลาดล่าง เป็นสถานที่สำคัญของตลาดล่างตลาดเก้าห้อง มีงานไหว้ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองหรืองานงิ้วทุกปี

โรงพิมพ์ไพโรจน์

โรงพิมพ์ไพโรจน์ เป็นโรงพิมพ์เก่าแก่ประจำตลาดเก้าห้อง ภายในมีเครื่องมือที่ใช้ในการพิมพ์มากมาย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และมีสาธิตการพิมพ์แบบโบราณให้นักท่องเที่ยวได้ชม ปัจจุบันยังเปิดให้บริการอยู่

โรงสีเก่านายทองดี

โรงสีแห่งนี้เคยเป็นของนายทองดี อยู่บริเวณตลาดกลาง โรงสีมีขึ้นมาก่อน จะสร้างตลาดเก้าห้อง เเละภายหลังนายฮง ได้สร้างตลาดกลางเพิ่มขึ้นอีก 10 ห้อง มีรูปแบบสถาปัตยกรรมจีน ในอดีตมีท่าเรือที่สำคัญในการขนส่งซื้อขายสินค้าข้าวสารอีกทั้งยังมีท่าเรือในการรับส่งชาวบ้านในตลาด รวมถึงหมู่บ้านใกล้เคียงที่ต้องการเดินทางไปยังตัวเมือง จ.สุพรรณบุรี, บางกอก(กทม.) ฯลฯ ปัจจุบันตลาดกลางมีอายุประมาณ 87 ปี เคยใช้เป็นที่ถ่ายภาพยนต์ ละคร และโฆษณามาแล้วมากมาย เช่น อั้งยี่, 7 ประจันบาน, อยู่กับก๋ง, แม่เบี้ย

วัดลานคา

วัดลานคาหรือวัดจำปาวัดที่สร้างโดยชาวพวนที่อพยพมาจากประเทศลาวซึ่งเป็นชุดแรกๆที่มาบุกเบิกบนผืนแผ่นดินไทย  สมัยปลายกรุงศรีอยุธยาก่อนพ.ศ.2310 หรือสมัยกรุงธนบุรีพ.ศ. 2322 หรือช่วงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 1 ราวพ.ศ.2335 วัดลานคาเดิมชื่อวัดจำปาตั้งอยู่ในที่ดอนห่างจากแม่น้ำท่าจีนประมาณ 1 กิโลเมตรทำให้การคมนาคมติดต่อไม่สะดวกเนื่องจากสมัยโบราณการคมนาคมนิยมใช้ทางน้ำเป็นหลักชาวบ้านจึงได้ช่วยกันย้ายวัดมาตั้งในที่ใหม่ริมแม่น้ำท่าจีน (ที่ตั้งวัดปัจจุบัน) ซึ่งบริเวณดังกล่าวเป็นที่รกร้างว่างเปล่ามีต้นไม้และหญ้าขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นโดยเฉพาะหญ้าคาขึ้นอยู่มากเป็นพิเศษและด้วยเหตุนี้จึงได้ลงความเห็นเปลี่ยนชื่อวัดใหม่เป็นชื่อวัดลานคาส่วนวัดจำปานั้นปัจจุบันยังมีเจดีย์และบ่อน้ำเหลืออยู่เป็นหลักฐานภายในวัดมีพระพุทธมหามุณีนายก (หลวงพ่อบารมี) เป็นพระประธานในพระอุโบสถ์องค์สีทองเหลืองอร่ามตาถัดมามีเรือนไทยสมัยโบราณเป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อพระพุทธเจ้าเก้าห้องพิชิตมารว่ากันว่าท่านมีความศักดิ์สิทธิยิ่งนักทุกวันนี้ใครมีเรื่องเดือดร้อนมักจะมาบนบานขอให้ท่านช่วยเหลือและก็มักจะไม่ผิดหวังเดินเลยมาหน่อยจะพบกับแผ่นไม้ตะเคียนโบราณขนาดใหญ่มหึมาอายุประมาณ 500-1,000 ปีมีความยาวเกือบ 4 เมตร นอกจากนี้ภายในบริเวณวัดและรอบๆวัดวัดยังมีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์อีกหลายแห่งที่ท่านสามารถเดินไปชมกันได้เช่นศาลของขุนกำแหงหรืออนุสรณ์สถานบรรพชนคนพวนที่สร้างโดยลูกหลานไทยพวนบ้านเก้าห้องเพื่อเชิดชูขุนกำแหง

วัดบ้านหมี่

วัดบ้านหมี่สถานที่อันศักดิ์สิทธิ์และเป็นปูชนียวัตถุและเป็นแหล่งรวมศิลปวัตนธรรมทางศาสนาแห่งหนึ่งในชุมชนบางปลาม้า วัดบ้านหมี่ตั้งอยู่เลขที่ 123 หมู่ที่ 7 ตำบลบางปลาม้าอำเภอบางปลาม้าจังหวัดสุพรรณบุรีมีเนื้อที่ 18 'ไร่งาน 20 ตารางวาวัดบ้านหมี่ตั้งขึ้นเมื่อพ.ศ.2506 เขตวิสูงคสีมากว้าง 40 เมตรยาว 6 เมตรภายในวัดประกอบด้วยอุโบสถสร้างเมื่อพ.ศ.2505 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กภายในเขตวัดมีหอสวดมนต์สร้างขึ้นเมื่อพ.ศ.2543 เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้จำนวน 6 หลัง  เรื่องราวของวัดบ้านหมี่ถือว่าเป็นสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์และเป็นปูชนียวัตถุอีกแห่งหนึ่งของชุมชนบางปลาม้ามีพระประธานประจำอุโบสถพร้อมพระโมคคัลลาห์และพระสารีบุตรพระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์ 3 องค์พระพุทธรูปสมัยอู่ทอง 1 องค์พระพุทธรูปสุโขทัย 1 องค์" และอีกหนึ่งความน่าสนใจคือ "หลวงพ่อเนียม. ท่านั่ง"สิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นหลักใจให้ชาวบ้านมาตลอด

เก้าห้องเฟรม

เก้าห้องเฟรม ในอดีตเคยเป็นร้านถ่ายรูป ปัจจุบันเปิดเป็นร้านขายกล้วยไม้แต่ภายในร้านก็ยังคงมีเครื่องมือ และอุปกรณ์ถ่ายรูปโบราณจัดแสดงให้นักท่องเที่ยวได้ชมภายในร้าน

พระอุโบสถไม้ วัดบ้านสูตร

พระอุโบสถไม้ วัดบ้านสูตร วัดบ้านสูตร วัดที่สร้างสร้างพระอุโบสถทรงเรือนไทยด้วยไม้รูปแบบสถาปัตยกรรมไทยที่จะเป็นถาวรวัตถุในบวรพระพุทธศาสนา พระอุโบสถหลังนี้เริ่มก่อสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2552  แทนพระอุโบสถหลังเก่าที่ชำรุดทรุดโทรมมากแล้วโดยอดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านสูตร สร้างขึ้นจากแนวคิดสถาปัตยกรรมเรือนไทยภาคกลาง  เนื่องจากชุมชนชาวไทยพวนนั้น ตั้งอยู่ท่ามกลางชุมชนไทยพื้นถิ่น และการก่อสร้างบ้านเรือนในยุคหนึ่งนั้น นิยมปลูกเรือนทรงไทยเครื่องผูก ฝาประกนลูกฟักด้วยไม้สัก ทั้งทรงไทยจั่วแหลม และทรงไทยปั้นหยา การสร้างพระอุโบสถทรงเรือนไทยด้วยไม้สักนี้ จึงเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมไทยและให้อนุชนคนรุ่นหลังได้เห็นรูปแบบงาน สถาปัตยกรรมไทยโบราณ เพื่อประโยชน์ทั้งการประกอบศาสนกิจ การศึกษาและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สืบต่อไป