ขนมจันอับ

จันอับเป็นคำที่เพี้ยนมาจากคำจีนที่มีความหมายว่ากล่องใส่ของกล่องบูชาหรือปิ่นโตโดยภายในกล่องจะใส่ขนมที่เรียกว่าแต้เหลี้ยว (เต่เหลียว) แต่ในปัจจุบันนี้ความหมายของคำว่าจันอับกลายเป็นขนมหวานอย่างแห้งของจีน  โดยขนมจันอับสูตรอร่อยสดใหม่มีขายที่ร้านขนมเปี๊ยะอายุกว่า 80 ปีของตลาดเก้าห้องตลาดเก่าโบราณอำเภอบางปลาม้าจังหวัดสุพรรณบุรีเป็นหนึ่งในของดีของเด่นที่สร้างชื่ออีกหนึ่งอย่างให้ตลาดเก้าห้องเพราะพ่อค้าแม่ค้าจากหลายๆพื้นที่เกือบทั่วประเทศต่างมุ่งหน้ามาสั่งขนมสำหรับเทศกาลจีนและเป็นของฝากจากตลาดเก้าห้องแห่งนี้ซึ่งรู้จักกันในชื่อร้านตั้งกุ้ยกี่ (ร้านจันอับ)

ข้าวหลาม

ข้าวหลาม ข้าวหลามเป็นอาหารที่ทำรายได้ให้กับชาวบ้านได้เป็นอย่างดี ด้วยกรรมวิธีการทำแบบภูมิปัญญาของชาวบ้าน ที่สืบทอดต่อกันมาหลายรุ่น จนได้รับความนิยมการทำข้าวหลามตามประเพณีของชาวไทพวน จะทำเพื่อถวายพระใน วันเพ็ญเดือน 4 หรือประมาณเดือนมกราคม ซึ่งเป็นการทานร่วมกับการทานข้าวจี่ และข้าวล้นบาตร นับเป็นสินค้าที่ขึ้นชื่อของบางปลาม้า มีร้านขึ้นชื่อที่ยังเปิดขายอยู่นั้นก็คือ ร้านบังข้าวหลาม

น้ำสมุนไพร

น้ำสมุนไพร พืชสมุนไพร ถือว่าเป็นผลผลิตจากธรรมชาติที่มนุษย์รู้จักนำมาใช้ประโยชน์เพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บตั้งแต่สมัยโบราณอสม.เทศบาลตำบลบางปลาม้า จึงได้ดำเนินการจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพน้ำสมุนไพร เพื่อให้ชมรม อสม. ได้รู้จักคุณค่าของสมุนไพร และสามารถต่อยอดแนวความคิด จากการเข้ารับการอบรมที่สามารถเป็นช่องทางการประกอบอาชีพหลักและอาชีพเสริม รู้จักการเลือกสมุนไพรมาใช้ให้เกิดประโยชน์ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวเมื่อว่างจากงานในอาชีพเกษตรกร

หมี่กรอบ

หมี่กรอบ “หมี่กรอบเป็นอาหารที่มีความเป็นจีนและไทยผสมผสานกัน เพราะเส้นหมี่หรือก๋วยเตี๋ยว และเทคนิควิธีการทอดโดยใช้น้ำมันร้อนท่วมมีต้นกำเนิดมาจากจีน แต่เมื่อทอดแล้วนำมาปรุงรสอย่างไทยให้มีรสเปรี้ยวหวานจากน้ำส้มมะขาม น้ำตาลปี๊บ ทั้งส่วนผสม เช่น เต้าหู้ เต้าเจี้ยว รวมทั้งถั่วงอกและใบกุยช่ายก็เป็นผักของจีน แต่ต้องมีรสซ่าหอมจากผิวส้มซ่าซึ่งใช้โรยหน้าหมี่กรอบและเป็นส่วนผสมหรือเอกลักษณ์สำคัญที่จะขาดไม่ได้” ความเป็นมา  จัดตั้งกลุ่มเมื่อปี 2545 ได้รวบรวมสมาชิกที่มีฝีมือผลิตอาหาร มาตั้งกลุ่มเพราะจะได้เป็นอาชีพเสริม และเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้าน เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้น ราคาอยู่ที่ 35 บาท สถานที่ 11 หมู่ 6 บ้านโพธิ์ศรี ตำบลจรเข้ใหญ่ อำเภอบางปลา

กาละเเม

กาละเเม เป็นขนมหนึ่งในสามชนิดที่นิยมทำขึ้นในวันปีใหม่ของชาวบ้านในสมัยก่อน นิยมทำกันในช่วงเทศกาลสงกรานต์หรือวันขึ้นปีใหม่ของไทย ซึ่งสิ่งที่จะต้องทำให้เสร็จก่อนวันสงกรานต์ก็คือ  ข้าวเหนียวแก้วข้าวเหนียวแดง และกาละแม เพราะการทำขนมเหล่านี้ จะต้องอาศัยแรงงานคนมาช่วยกันกวน จึงถือเป็นการเริ่มต้นปีใหม่ด้วยความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ของคนไทย ปัจจุบัน กาละแมมีหลากหลายสี และมีรสชาติที่แตกต่างกัน แต่ยังคงอนุรักษ์ความเป็นไทยไว้ตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษจนถึงยุคปัจจุบัน กาละแม สูตรโบราณ จากหมู่บ้านวัดโพธิ์ศรี กวนกันเฉพาะช่วงเทศกาลเท่านั้น

กล้วยตาก

กล้วยตาก                       เนื่องจากกล้วยเป็นผลไม้ที่ปลูกได้ทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย ชาวสุพรรณ จึงคิดสินค้าที่แปลกใหม่ออกมา กล้วยและเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางอาหารสูง กล้วยเป็นพืชที่ปลูกง่าย กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร บ้านบ่อกรุ จึงได้นำกล้วยสุกมาแปรรูปต่าง ๆ เช่น กล้วยตาก กล้วยกวน กล้วยแผ่นอบ กล้วยหยี คุกกี้ ข้าวเกรียบ และผลิตภัณฑ์จากกล้วยที่กลุ่มได้ทำการผลิตและสร้างชื่อเสียงให้กับกลุ่ม คือ กล้วยแผ่นอบ ปัจจุบันกลุ่มได้รวบรวมพันธุ์กล้วยไว้หลากหลายชนิด เพื่อที่จะได้นำมาใช้แปรรูปผลิตภัณฑ์กล้วยอบม้วนโสมจันทร์ เกิดจากแนวคิดการถนอมอาหารจากการทำกล้วยตากแบบดั้งเดิมที่ใช้การตากโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ แต่กล้วยตากความแตกต่างจากที่อื่นๆ เพราะทางกลุ่มได้มีการคัดสรรกล้วยน้ำว้าที่นำมาแปรรูปโดยทางกลุ่มได้รับคำแนะนำจากฯพณฯท่านบรรหาร ศิลปอาชาให้ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี(พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง)นำกล้วยน้ำว้า“พันธุ์กาบขาวสุพรรณบุรี”มาให้ทดลองปลูกเพื่อทำการแปรรูปเพราะกล้วยน้ำว้าพันธุ์นี้มีจุดเด่นคือ เมื่อนำมาแปรรูปแล้วจะได้กล้วยตากที่มีสีเหลืองสวยเสมอ รสชาติหวาน หอมและมีเนื้อนุ่ม และกลุ่มได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ให้มีรูปลักษณ์ที่แปลกใหม่เพื่อดึงดูดความสนใจแก่ผู้พบเห็นและลูกค้าที่รักและใส่ใจในสุขภาพ แต่รสชาติยังคงเหมือนเดิม จนทำให้ประสบความสำเร็จอยู่ในระดับดีเยี่ยมจนได้เป็นตัวแทนของจังหวัดสุพรรณบุรีส่งผลิตภัณฑ์แปรรูปกล้วยตาก

แกงบอน บางปลาม้า

แกงบอน บางปลาม้า แกงบอน อาหารท้องถิ่นพื้นบ้าน ที่มีมาแต่โบราณ รสชาติกลมกล่อมหอมอร่อย แกงบอนกับกะทิ ใส่หมูย่าง ปลาย่าง หมูสามชั้น หอมอร่อยเข้ากัน เราจะตัดต้นบอนตรงโคนอ่อนและก้านอ่อน แล้วนำมาประกอบอาหาร ส่วนมากจะหารับประทานได้ยาก เพราะปัจจุบันบอนจะมีปลูกในบางพื้นที่เท่านั้น วิธีทำแกงบอน 1. นำบอนมาลอกเปลือกออก ระวังอย่าให้ยางโดนมือ เพราะจะทำให้คันได้ แล้วหั่นพอดีคำ นำไปลวก ใส่เกลือพอหยิบมือ และใบมะกรูด รอจนสุก แล้วตักพักไว้ 2. ตั้งหม้อใส่หัวกะทิลงไป เคี่ยวจนเดือด ใส่พริกแกง คนให้พริกแกงละลาย 3. รอให้เดือดอีกครั้ง ใส่หมูหรือไก่ที่เตรียมไว้ ปรุงรสด้วยน้ำตาล น้ำปลาร้า ผงปรุงรส ผงชูรส น้ำมะขามเปียก คนให้เข้ากัน 4. พอเดือดอีกครั้ง ใส่หางกะทิ แล้วทิ้งไว้สัก 5 นาที ใส่บอนที่ต้มสุกแล้วลงไป รอจนเดือด โรยใบมะกรูด เรียบร้อยแล้วตักใส่ถ้วย...